โครงสร้างรอบหลุมดำบริเวณใจกลางของ M87
เมื่อสองปีที่แล้ว ทีมงาน Event Horizon Telescope (EHT) ได้เปิดเผยภาพถ่ายของหลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางของกาแล็กซี M87 เป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เราสามารถทำการสังเกตการณ์มวลสารที่อยู่ในจานพอกพูนมวลรอบหลุมดำได้ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [3])
อย่างไรก็ตาม ภาพของจานพอกพูนมวลรอบหลุมดำ ไม่ได้บอกเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับหลุมดำ และแท้จริงแล้วหลุมดำนั้นมีโครงสร้างที่กว้างใหญ่กว่านั้น นอกเหนือไปจากจานพอกพูนมวลไปอีกมาก
วันที่ 14 เมษายน 2021 ที่ผ่านมานี้ ทีมงาน EHT ได้ร่วมมือกับหอสังเกตการณ์ทั้งบนโลกและในอวกาศถึงกว่า 19 แห่ง และได้นำข้อมูลต่างๆ มารวมกัน เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับหลุมดำที่อยู่ ณ ใจกลางของกาแล็กซี M87 นี้ พร้อมทั้งภาพที่บันทึกได้ในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ ที่สามารถบอกให้เราทราบเกี่ยวกับหลุมดำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
หลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซี M87 นี้ นับเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ที่มีมวลมากที่สุดหลุมหนึ่งในเอกภพ โดยมีมวลถึงกว่า หกพันห้าร้อยล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ และอยู่ในใจกลางของกาแล็กซี M87 ที่ห่างออกไป 55 ล้านปีแสง
หลุมดำมวลยิ่งยวดเช่นนี้ จะมีมวลสารของดาวฤกษ์ที่บังเอิญโคจรเข้าไปใกล้เกินไป และถูกฉีกออกเป็นชิ้นๆ โดยแรงไทดัลอันมหาศาล ถูกเหวี่ยงออกไปรอบๆ กลายเป็นแก๊สร้อนที่หมุนวนไปรอบๆ หลุมดำ (คล้ายกับน้ำวนในอ่างอาบน้ำที่ถูกเปิดก๊อกออก) ในลักษณะที่เราเรียกว่าจานพอกพูนมวล (accretion disk) บริเวณของแก๊สร้อนในจานพอกพูนมวลนี้เอง ที่เป็นโครงสร้างที่ใกล้ชิดที่สุดของหลุมดำ ที่เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ (ภาพคล้าย "โดนัท" สีส้ม ภาพล่างซ้าย)
แต่ในขณะที่มวลสารกำลังถูกเหวี่ยงและดูดเข้าสู่แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของหลุมดำ ก่อนที่จะตกลงสู่ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) มวลสารบางส่วนจะถูก "ดีด" ออก และพุ่งออกไปบริเวณขั้วในการหมุนของจานพอกพูนมวล แก๊สที่พุ่งออกมาในลักษณะคล้ายกับ "เจ็ท" (Astrophysical Jet) นี้นั้น อาจจะประกอบไปด้วยไอออนที่มีประจุ และพุ่งออกมาด้วยความเร็วเข้าใกล้แสง และสามารถพุ่งออกไปเป็นระยะทางหลายพัน แสน หรือถึงล้านพาร์เซค ซึ่งทำให้เจ็ทที่ออกมาจากหลุมดำเหล่านี้นั้น สามารถมีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทั้งกาแล็กซีได้เลยทีเดียว
นอกไปจากนี้ พลังงานอันมหาศาลของอนุภาคในเจ็ทเหล่านี้นั้น สามารถเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นวิทยุ ไปจนถึงรังสีแกมม่า
ซึ่งในภาพที่แนบมานี้ แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างต่างๆ ของเจ็ท ในช่วงความยาวคลื่นวิทยุ (ซ้าย) คลื่นยูวี (กลาง) และรังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ ไปจนถึงแกมมา (ขวา) ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบหลุมดำมวลยิ่งยวดนี้อยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราสามารถไปดูในลักษณะของวีดีโอ แสดงเปรียบเทียบขนาดโดยการ "ซูมออก" จากหลุมดำ M87 ได้ที่ [4]
นอกไปจากนี้หลุมดำมวลยิ่งยวดเช่นนี้ อาจจะเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของรังสีคอสมิคพลังงานสูง ที่เต็มไปทั่วเอกภพ และกระทบเข้ากับโลกของเราอยู่ตลอดเวลา การศึกษาหลุมดำ M87 ในลักษณะนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตอบได้ว่าหลุมดำมวลยิ่งยวดเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญเพียงใดต่อรังสีคอสมิค
นอกจากหลุมดำจะเป็นสิ่งที่น่าพิศวงของธรรมชาติแล้ว แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันยังเปรียบได้กับห้องปฏิบัติการชั้นดีที่เราจะสามารถทดสอบความเข้าใจในทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ได้ การสังเกตการณ์ในลักษณะเช่นนี้ของทีมงาน EHT จะช่วยให้เราสามารถยืนยันความเข้าใจทางทฤษฎีของเราเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง และสามารถเปรียบเทียบกับสิ่งที่สามารถสังเกตได้จริง ที่กำลังเกิดขึ้น ณ วัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงมากที่สุดแหล่งหนึ่งในเอกภพที่สามารถเป็นไปได้ และความเข้าใจนี้เองที่จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะนำเราให้เข้าใกล้สู่ความเข้าใจในกฎที่แท้จริงของธรรมชาติอีกก้าวหนึ่ง
ภาพ: The EHT Multi-wavelength Science Working Group; the EHT Collaboration; ALMA (ESO/NAOJ/NRAO); the EVN; the EAVN Collaboration; VLBA (NRAO); the GMVA; the Hubble Space Telescope; the Neil Gehrels Swift Observatory; the Chandra X-ray Observatory; the Nuclear Spectroscopic Telescope Array; the Fermi-LAT Collaboration; the H.E.S.S collaboration; the MAGIC collaboration; the VERITAS collaboration; NASA and ESA. Composition by J. C. Algaba
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://eventhorizontelescope.org/blog/telescopes-unite-unprecedented-observations-famous-black-hole
[2] https://iopscience.iop.org/article/10.3847/2041-8213/abef71
[3] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/977309255812614
[4] https://www.youtube.com/watch?v=q2u4eK-ph40
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅Marc Yam,也在其Youtube影片中提到,Section III Wave Motion 3.3 Sound Ultrasound...
x ray wavelength 在 喬的英文筆記 Joe's English Learning Notes Facebook 的最佳解答
<主題式單字- 物理(1): 狀態、性質、力、學科、光學>
喬本週今天要分享的主題式單字是「物理」,不過喬不會分享恐怖的理論與運算式,不用擔心(本篇電子筆記有做補充所以比手寫筆記多了些資料),喬本身對物理有點興趣,只是很討厭它變成考試科目常考低分!無論如何,各位同學一起來學習/複習「物理主題式單字(1)」吧!
(1) “狀態"
solid (n.) 固態
gas (n.) 氣態
liquid (n.) 液態
vapor (n.) 蒸氣
*evaporate = vaporize (V.) 蒸發
condense (V.) 凝結
solidify (V.) 凝固
(2) “物質本身性質”
object (n.) 物體
mass (n.) 質量
density (n.) 密度
fraction (n.) 小部分
fragment (n.) 碎片
property (n.) 性質
function (n.) (機器、機制等)運行/發揮作用
waterproof (adj.) = watertight 防水的
fireproof (adj.) 防火的
*-proof (adj.) 防...的
(3) “力”
force (n.) 力
inertia (n.) 慣性
velocity (n.) 速度
acceleration (n.) 加速度
acceleration of gravity (n.) 重力加速度
gravity = gravitational pull (n.) 重力
magnet (n.) 磁鐵
buoyancy (n.) 浮力
buoyant (adj.) 有浮力的
(4) “粒子"
molecule (n.) 分子
nucleus (n.) 原子核
electron (n.) 電子
proton (n.) 質子
proton number (n.) 質子數
ion (n.) 離子
atom (n.) 原子
atomic (adj.) 原子的
atomic number (n.) 原子序
isotope (n.) 同位素
cyclotron (n.) 粒子迴旋加速器
(5) “物理學科"
optics (n.) 光學
acoustics (n.) 聲學
mechanics (n.) 力學 or 機械學
dynamics (n.) 動力學
aerodynamics (n.) 氣體動力學
hydrodynamics (n.) 流體動力學
thermodynamics (n.) 熱力學
(6) “光學"
optical (adj.) 光(學)的
optic axis (n.) 光軸
dispersion (n.) 色散
lens (n.) 鏡片; 透鏡
transparent (adj.) 透明的
translucent (adj.) 半透明的
opaque (adj.) 不透明的
infrared (adj,) 紅外線的 (n.) 紅外線
spectrum (n.) 光譜
spectrum signature (n.) 光譜特徵
wavelength (n.) 波長
X-ray (n.) X光
【其他主題式單字連結】
校園生活: goo.gl/Ntbvgl
校園生活補充篇: goo.gl/mHSJc3
藝術(1): goo.gl/f3LCMf
藝術(2): goo.gl/0HlJYN
動物學: goo.gl/4IHrga
機場相關: goo.gl/kwU5iD
氣象學: goo.gl/nUvhTM
服飾相關: goo.gl/pjCgTe
家庭相關: goo.gl/nbh13M
人體器官: goo.gl/8Rws2b
建築學: goo.gl/kFNkMD ; goo.gl/p4BucC
地球相關: goo.gl/nKA8MM
樹結構: goo.gl/YgptDT
化學與花結構: goo.gl/qyYqXC
經濟學(1): goo.gl/68kUws
經濟學(2): goo.gl/KyQEVF
天文學: goo.gl/MybmNW
x ray wavelength 在 Marc Yam Youtube 的最佳貼文
Section III Wave Motion
3.3 Sound
Ultrasound
x ray wavelength 在 Marc Yam Youtube 的精選貼文
Section III Wave Motion
3.2.1 Light: Electromagnetic Spectrum
X-ray, Gamma ray
x ray wavelength 在 X-ray | Definition, History, & Facts - Encyclopedia Britannica 的相關結果
X -ray, electromagnetic radiation of extremely short wavelength and high frequency, with wavelengths ranging from about 10 −8 to 10 −12 metre and ... ... <看更多>
x ray wavelength 在 X-rays | COSMOS - Centre for Astrophysics and ... 的相關結果
X -rays are high-frequency, and thus high-energy, electromagnetic radiation. They have wavelengths ranging from 0.01 to 10 nanometres, and thus frequencies ... ... <看更多>
x ray wavelength 在 X-ray - Wikipedia 的相關結果
Most X-rays have a wavelength ranging from 10 picometers to 10 nanometers, corresponding to frequencies in the range 30 petahertz to 30 exahertz (30×10 15 Hz to ... ... <看更多>